สภาพัฒน์ฯ ส่อโยนผ้าขาว ส่วนราชการรุมกินโต๊ะ ขับเคลื่อนโครงการเมืองต้นแบบฯ จะนะฯ ไม่คืบ

เศรษฐกิจ (ในประเทศ - ต่างประเทศ)

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.00-12.00 น. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ได้เปิดเวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็น เพื่อกำหนดกรอบการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธ์ศาสตร์ (SEA) สำหรับแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ที่ ครม. มอบหมายให้สภาพัฒน์ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปร่วมกันจัดให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA และแผนแม่บทต่าง ๆ โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ในเวทีมี นายวิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุมฯ มีส่วนราชการและอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนพื้นที่เข้าร่วมประชุมหลายหน่วยงาน

แหล่งข่าวได้แจ้งบรรยากาศการประชุมรับฟังความคิดเห็นข้างต้น เป็นไปอย่างดุเดือดและมีข้อคำถาม ข้อสงสัยที่ผู้แทนสภาพัฒน์ฯ ไม่สามารถอภิบาย หรือ ให้คำตอบกับที่ประชุมฯ ได้อย่างชัดเจนเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง กรอบการศึกษาที่นำเสนอในวันนี้ ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง ไม่มีสาระสำคัญที่จะพิจารณา (ระยะเวลาล่วงเข้าสู่เดือนที่ 3 หลัง ครม. มีมติ) รวมทั้ง ยังไม่มีความชัดเจนว่า การทำ SEA จะนำไปสู่การได้ข้อยุติเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่ทั้งที่เป็นกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มคัดค้าน ได้หรือไม่, สิ่งใด คือ การยอมรับของทุกฝ่าย เป็นแนวทางและมาตรการใด, กรอบระยะเวลาการทำงานที่ไม่สามารถกำหนดห้วงเวลาการทำงานได้อย่างชัดเจน เพียงแต่ให้เหตุผลว่าโครงการพัฒนาที่มีความขัดแย้ง มักจะดำเนินการได้ยาก และส่วนใหญ่ที่ผ่านมาจากประสบการณ์ในต่างประเทศ ผลการศึกษาไม่สามารถดำเนินการให้เป็นข้อยุติทุกฝ่าย

ซึ่งการดำเนินการที่ไม่มี ความชัดเจน ก็นำไปสู่การสร้างความเสียหายทั้งกรณีของส่วนราชการ เนื่องจากหลายส่วนราชการปัจจุบันมีการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการเมืองต้นแบบฯ จะนะ ไปแล้ว แต่จำเป็นจะต้องชะลอ การทำงานทั้งหมดตามมติคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะการทำงานหลายเรื่องขณะนี้อยู่ระหว่างการลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งหากไม่สามารถดำเนินการได้ทันตามปีงบประมาณตกไป รวมถึง การเสียโอกาสของประชาชนที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาในพื้นที่สืบเนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคใต้ตอนล่าง เช่น รายได้การท่องเที่ยว การค้าขาย ฯลฯ ติดลบ คนตกงานเป็นจำนวนมาก แต่รัฐบาลยังไม่มีความพยายามในการสร้างแหล่งงานใหม่ให้กับประชาชนพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดสงขลาที่ขาดการทลงทุนขนาดใหญ่ที่เห็นผลเป็นรูปธรรมมากว่า 30 ปีแล้ว ในขณะที่ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมลงประชุมฯ ได้แจ้งต่อแหล่งข่าวว่า การลงทุนทั้งหมดในการพัฒนาเป็นเรื่องของเอกชนที่มีความพร้อม เพราะเข้าใจว่ารัฐบาลต้องใช้งบประมาณไปใช้ในการพัฒนาประเทศด้านอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลเสนอให้มีการทำ SEA และจะใช้บังคับต่อภาคเอกชนให้ต้องดำเนินการตามผลการศึกษานั้น หากดำเนินการในพื้นที่แห่งนี้ ก็ขอให้นำไปใช้ในการพัฒนาการลงทุนของภาคเอกชนรายอื่นนอกพื้นที่ด้วยไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ 2 มาตรฐานการทำงานเพราะการลงทุนงบประมาณและทรัพยากรเป็นของเอกชน รัฐควรจะส่งเสริมให้ภาคเอกชนดำเนินการอย่างเต็มที่ โดยรัฐบังคับวิถีให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเต็มที่และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ท้ายที่สุด ก่อนปิดการประชุมฯ ประธานฯ ได้บอกกล่าวกับที่ประชุมฯ และสร้างความประหลาดใจ ว่าสภาพัฒน์ฯ ไม่ได้อยากทำเรื่องแบบนี้ ทั้งที่ในวันรับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น สภาพัฒน์ฯ ถือเป็นหน่วยงานสำคัญตัวตั้งตัวตีสำคัญและกำลังจะออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการศึกษา SEA ต่อโครงการพัฒนาของรัฐ

อ้างอิง
https://siamrath.co.th/economy